อาการโรคซึมเศร้า ในวัยรุ่น

อาการของโรคซึมเศร้า-ในวัยรุ่น

 

อาการโรคซึมเศร้า ในวัยรุ่น

อาการโรคซึมเศร้า : วัยรุ่นอาจไม่สามารถบอกได้ว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์เศร้า แต่ภาวะเศร้าในวัยรุ่นอาจแสดงออกมาในรูปแบบอาการอื่นๆ ได้แก่

  • รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง
  • รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
  • ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ)
  • รู้สึกแย่กับตัวเอง
  • นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
  • จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ
  • เบื่ออาหาร หรือ กนมากกว่าปกติ
  • พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก

 

 

>>> แบบประเมินซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่น (CES-D) <<<

ใช้เพื่อประเมินตนเองเบื้องต้น ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค

>>> ทำอย่างไรเมื่อฉันเป็นโรคซึมเศร้า <<<


​กรณีตัวอย่าง วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า

ตุ้ยอายุ 15 ปี เล่นเกมทั้งวัน ไม่สนใจการเรียน ทะเลาะกับแม่บ่อยเพราะเรื่องเล่นเกม

พอสอบถามประวัติโดยละเอียด พบว่าตุ้ยรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำอะไร การเล่นเกมบางทีก็เบื่อ แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรทำ ตุ้ยนอนไม่หลับมานานประมาณหนึ่งเดือน เบื่ออาหารบางครั้งรู้สึกหงุดหงิดง่าย เคยชอบเตะบอลกับเพื่อนแต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ไปเล่นแล้วเพราะรู้สึกเบื่อ เซ็งๆ ไม่ส่งงานครู เพราะไม่มีสมาธิในการทำงาน เคยมีความรู้สึกอยากจะหลับไป ไม่ต้องตื่นขึ้นมาอีก แต่ไม่มีความคิดจะฆ่าตัวตาย

ตุ้ยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคซึมเศร้า ได้รับการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด ตุ้ยมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปหนึ่งเดือน อาการเศร้าหายไป สามารถกลับมาเรียนได้ตามปกติ
 


สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ในครอบครัวที่มีประวัติโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเวชมักมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เหตุการณ์/ความเครียดในชีวิต การเผชิญ ความรุนแรงทางจิตใจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า

  • พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป
  • สารเคมีในสมอง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่ วยภาวะซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ท าให้ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันยาที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าจะมีหน้าที่โดยตรงในการปรับสารเคมีเหล่านี้ให้อยู่ในภาวะสมดุล
  • ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือ ปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ใช้คำตำหนิต่อว่าหรือการใช้อารมณ์ในการดูแลบุตร เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลสำคัญ หรือ การหย่าร้างของพ่อแม่ การถูกทารุณกรรมหรือการถูกทอดทิ้ง การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากสังคม เป็นต้น
  • มุมมองต่อตนเอง และลักษณะการแก้ไขปัญหา พบว่าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ และเด็กที่มีความวิตกกังวลสูง จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีหนีปัญหา โทษตัวเองซ้ำๆ และมองโลกในแง่ร้ายก็มีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น
  • ปัจจัยโรคทางกายอื่นๆ โรคทางกายหรือยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน และสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามวัยได้ตามปกติก็มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย

หากคุณกำลังเป็น โรคซึมเศร้า อย่าตื่นตกใจเกินไป

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้

ปรึกษาเราได้ ฟรี ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323


ที่มา คู่มือปฏิบัติการดูแลวัยรุ่นที่มีภาะวะซึมเศร้า
สำหรับบุคคลากรสาธารณสุขและบุคคลากรทางการศึกษา
ตามแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า

โดย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
จัดพิมพ์โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ภาพประกอบ เอกสารแผนพับ ภาวะซึมเศร้า..คืออะไร

โดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

อาการโรคซึมเศร้า