โรคออทิสติก Autistic Spectrum Disorder : ASD

โรคออทิสติก Autistic Spectrum Disorder : ASD

โรคออทิสติก Autistic Spectrum Disorder : ASD เป็นกลุ่มของสภาวะที่ถูกจำแนกโดยลักษณะพิเศษ3ประการคือ

  1. ความ ผิดปกติทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  2. ความผิดปกติทางภาษาทั้งการสื่อสารแบบ verbal และ nonverbal
  3. มีความสนใจที่จำกัด

โรคออทิสติก เป็นโรคที่มีลักษณะแตกต่างกันได้มาก อาการมีหลายอย่าง และความรุนแรงก็ต่างกันตั้งแต่น้อยไปจนถึงรุนแรง เนื่องจากอาการของโรคมีขอบเขตค่อนข้างกว้าง ทางการแพทย์จึงเรียกโรคนี้ว่าเป็น Spectrum โดยปัจจัยที่เป็นตัวแบ่งความรุนแรงของโรค คือ ระดับของสติปัญญาและทักษะทางภาษา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างผู้ป่วยออทิสซึมที่มีสติปัญญาบกพร่องอย่างรุนแรง ไม่สามารถพูดสื่อสารได้และมี Motor Stereotypies และผู้ป่วยที่มีระดับสติปัญญาดี ( Highfunction Autism ) ซึ่งสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วและหมกมุ่นกับความสนใจของเขา ( เช่น เรื่องดาราศาสตร์ )

งานวิจัยที่ผ่านมาได้บ่งชี ASD นั้นว่าเป็นโรคของ Early Brain Development ทั้งความผิดปกติด้านโครงสร้างหรือการทำงานของสมอง โดยทั้ง Static และ Dynamic Process

Clinical Characteristics

การวินิจฉัยปัจจุบันที่ใช้ DSM-V และ ICD-10 ได้บอกว่ากลุ่ม Autistic Spectrum Disorder นั้นมีความผิดปกติทั้งหมด 3 ด้าน

1. ความผิดปกติด้านสังคมและความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Qualitative impairment in Social Interactions)

ความผิดปกติด้านนี้เน้นที่ความบกพร่องเชิงคุณภาพของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่ใช่ไม่มีพฤติกรรมทางสังคมเลยมีความหลากหลาย ของอาการทางสังคมตั้งแต่ไม่มีความตระหนักถึงบุคคลอื่นเลย ไปจนถึงก้าวก่ายกับผู้อื่นอย่างไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ในขวบปีแรกของชีวิต เด็ก Autism บางคนอาจจะไม่ยกแขนให้อุ้ม เด็กบางคนอาจจะสบตาเป็นช่วง ๆ แต่แต่ไม่ได้แสด
 

ความสนใจต่อสิ่งของหรือเหตุการณ์

ความสามารถที่จะมีความเชื่อมโยงกับสังคมและมีความสัมพันธ์กับบุคคลให้เหมาะสมกับอายุนั้นจำกัด สำหรับเด็กเล็กนั้นอาจจะแสดงให้เห็นว่าไม่มีความสนใจหรือตระหนักถึงเด็กอื่น ๆ เด็กที่โตกว่านั้นไม่มีเพื่อนรุ่นราวเดียวกัน แยกจากสังคมและอาจจะถูกแกล้งหรือล้อเลียน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะบอกว่าพวกเขาต้องการเพื่อน แต่พวกเขาไม่เข้าใจเรื่องการมีความสนใจร่วมกันและการพึ่งพาอาศัยกันซึ่งเป็นส่วนสำคัญของมิตรภาพ พวกเขาขาดทักษะด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะทางสังคมว่าควรทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ สำหรับเด็กที่มีความสามารถด้านการพูดมากขึ้นอาจจะมีเพื่อน แต่ความสัมพันธ์นั้นนจำกัดอยู่แค่สิ่งที่พวกเขาสนใจแค่บางสิ่งอย่าง เช่น ไดโนเสาร์หรือเกมคอมพิวเตอร์ ส่วนมากพวกเขาจะขาดการอ่านบริบททางสังคม ภาษากาย และ สีหน้าของผู้อื่น เด็กบางคนอาจจะมีปฏิสัมพันธ์แบบยินยอมโดยไม่ริเริ่มและไม่มีการสังเกตหรือการประนีประนอม จะทำตามคนอื่นอย่างเดียว

2. ความผิดปกติด้านการสื่อสาร(Qualitative Impairment in Communication)

ในทางคล้าย ๆ กันนั้น ความบกพร่องด้านการสื่อสารของเด็ก ASD นั้นค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่พูดช้าไปจนถึงเงียบไม่พูด, ไปจนกระทั่งมีโทนเสียงที่มีลักษณะเฉพาะและไม่สามารถปรับคำศัพท์และลักษณะสนทนาให้เหมาะกับบริบทแวดล้อมได้ เด็กออทิสติกบางคนถึงแม้สามารถพูดได้แต่ก็มีความผิดปกติเรื่องความเข้าใจภาษา โดยอาจจะมีความผิดปกติเรื่องความเข้าใจภาษาที่ซับซ้อนขึ้น พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของ เด็กออทิสติกคือใช้มือของคนอื่นชี้ของที่ตนเองต้องการ เรียกว่า " hand overhand pointing ” เด็กคนอื่นอาจจะ ไม่แสดงความต้องการหรือร้องขอต่อพ่อแม่ แต่ว่าเรียนรู้ ที่จะปีนและได้ของที่ตนเองต้องการตั้งแต่อายุยังเด็ก บางคนมีภาษาแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มหรือคงการสนทนาไว้ได้ การพูดมักจะเป็นแบบ monotoneไม่มีการเน้นคำเพื่อเพิ่มความหมายในประโยค เด็กออทิสติกบางคนอาจจะใช้ Neologism, Echolalia หรือ Pronoun Reversal. สำหรับเด็กทั่วไปนั้นสามารถมี Echolalia ได้จนถึงอายุ 2 ปี โดยถ้ายังมี Echolalia หลังจากนั้น อาจจะถือว่าผิดปกติ โดยในเด็กออทิสติกอาจจะมีจนถึงเข้าโรงเรียนแล้ว

เด็ก ASD นั้นยังมีความบกพร่องในเรื่องของ Nonverbal Communication รวมถึงการใช้ภาษากายอย่างเช่น การชี การพยักหน้า เป็นต้น เด็กบางคนนั้นไม่สามารถใช้วัตถุอย่างเช่น สัตว์ หรือ ตุ๊กตา ในการเล่นสมมติได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ในการเล่นซ้ำ ๆ มากกว่า ส่วนทักษะในการเลียนแบบ ( Imitation skil l) นั้นไม่มี รวมถึงทักษะใน Social Play อย่างเช่นการเล่นซ่อนหาด้วย

3. ความสนใจที่จำกัด ( Restricted, Repetitive and Stereotypic Patterns of Behaviors, Interests and Activities)

เด็กบางคนได้แสดงถึงความหมกมุ่นอย่างมากในสิ่งที่ตนเองสนใจที่จำกัด อย่างเช่น เครื่องซักผ้า รถไฟหรือตารางการเดินรถไฟ บางคนอาจจะหมกมุ่นในตารางเวลาประจำวันที่ตายตัว โดยถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแม้ เพียงนิดเดียวอาจจะทำให้มีอารมณ์หงุดหงิดหรือ Tantrum ตัวอย่างเช่น เด็กอาจจะยืนยันที่จะใช้เส้นทางเดียวในการไปโรงเรียน หรือเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าโดยใช้ประตูเดียว ในส่วนพฤติกรรมซ้ำๆ นั้นรวมถึง Motor Mannerism อย่างเช่น ตบมือ เขย่าของ หรือเรียงของเล่นเป็นแบบเดียว บางคนอาจจะมีความผิดปกติทางประสาทสัมผัส ( Sensory Abnormalities ) และมีการตอบสนองสิ่งกระตุ้นทางการได้ยิน การมอง การสัมผัส การเคลื่อนไหวที่แปลงไป โดยมีการตอบสนองที่น้อยหรือมากเกินไปต่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี ้ โดยสิ่งกระตุ้นเหล่านี้อาจจะเป็นแหล่งของความพึงพอใจหรือการกระตุ้นตนเอง

โรค ออทิสติก Autistic Spectrum Disorder  ASD

การรักษา

Behavioral interventions และ Structured educational นั้นมีหลักฐานว่ามีประโยชน์กับเด็ก ASD มาก และมี Outcome ที่ดีกว่า โดย National Research Council ได้รายงานไว้ว่า คุณภาพของงานวิจัยในสาขานี้ยังค่อนข้างหลากหลาย โดยส่วนมากงานวิจัยใช้วิธี Groupcontrols หรือ Single Subject Experimental methods. โดยทั่วไปแล้ว งานวิจัยที่ใช้ Randomized Group Comparisons นั้นน้อย และมีอีกปัญหาหนึ่งคือ ขาดรายละเอียดเรื่อง Subject Characterization, Generalization of Treatment Effects และ Fidelity of Treatment Implementation ถึงแม้ว่าจะมีปัญหานี้ โดยรวมแล้วการรักษาอย่างครอบคลุมนั้นได้แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพกับเด็ก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการรักษาแบบใดมีประสิทธิภาพเหนือกว่าอย่างโดดเด่น

โรค ออทิสติก Autistic Spectrum Disorder  ASD

Behavioral

Behavioral Interventions อย่างเช่น Applied Behavioral Analysis โดย Lovaasและคณะ โดยฝึกเด็กอย่างเข้มข้น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยฝึกตัวต่อตัว เริ่มสอนโดยใช้ทักษะง่าย ๆ ไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนขึน Behavioral Techniques นั้นมีประโยชน์โดยเฉพาะเมื่อ Maladaptive Behaviors นั้นรบกวนกับโปรแกรม ซึ่งในสถานการณ์เหล่านั้นจะใช้ Functional Analysis กับ Target Behavior ซึ่งจะใช้ Behavioral Techniques ที่หลากหลายเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่ต้องการ ABA Technique นั้นมีประสิทธิภาพกับปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ และ นำไปใช้กับ Academic Tasks, Adaptive Living Skills, Communication, Social Skills, และ vocational skills ส่วนที่สำคัญคือ เด็ก ASD นั้นมักจะเรียนรู้ภารกิจต่าง ๆ แยกกัน การมุ่งเน้นในการนำไปใช้ทั่วไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

Communication

Communication นั้นเป็นจุดเน้นหลักของ Intervention ต่าง ๆ และโดยทั่วไปนั้นมักจะอยู่ใน Individualized Educational Plan อยู่แล้ว ในเด็กบางคนที่ยังไม่ได้ใช้คำนั้นสามารถถูกช่วยเหลือโดยใช้วิธีทางเลือกอื่น เช่น ภาษาสัญลักษณ์ ( Sign Language ), Communication Board, Visual Support, Picture Exchange มีหลักฐานสนับสนุนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ Picture Exchange Communication System, Sign Language Activity Schedules, และ Voice Output Communication Aids. สำหรับผู้ป่วยที่พูดได้คล่องแล้ว ควรจะเน้นที่ Pragmatic Language Skills Training.


จัดทำโดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์